ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดกิจกรรมเดินสวนสนามวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ 2562
โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ กอบัวแก้ว ผู้อำนวยการโรงเรียน
มอบให้อาจารย์อรัญ สัมดี รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นประธานในพิธีทบทวนคำปฏิญาณ และพิธีสวนสนาม
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ ประจำปีการศึกษา 2562 ณ อาคาสนามหน้าโรงเรียนสาธิตฯ
เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยและแสดงความจงรักภักดีต่อ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประมุขของคณะลูกเสือแห่งชาติ โดยมีคณะลูกเสือ เนตรนารีสำรอง สามัญ และสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนสาธิตฯ เข้าร่วมพิธี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการลูกเสือไทยท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ ( บี.พี. ) เป็นผู้ก่อตั้งกิจการลูกเสือครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเตรียมคนไว้เป็นทหาร และฝึกให้คนบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม หลังจากนั้นกิจการลูกเสือก็เริ่มแพร่ขยายเข้าไปในประเทศยุโรปที่ไม่มีพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร กระทั่งแพร่ขยายเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ 2 เมื่อกิจการลูกเสือแพร่หลายขึ้น ในปี พ.ศ. 2451 ท่านลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ จึงได้แต่งหนังสือฝึกอบรมลูกเสือขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีชื่อว่า "Scouting For Boys" และคำว่า "Scout" ซึ่งใช้เรียกแทน "ลูกเสือ" มีความหมายตามตัวอักษร คือ
S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ
มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
C : Courtesy
หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
เป็นผู้มีมารยาทดี
O : Obedience
หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน
อยู่ในโอวาท
U : Unity หมายถึง
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
รู้รักสามัคคี
T : Thrifty หมายถึง
ความมัธยัสถ์
ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
ท่านลอร์ดบาเดน เพาเวลล์ บิดาแห่งลูกเสือโลก จุดเริ่มต้นของกิจการลูกเสือในประเทศไทยประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชองค์การโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นก่อนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อฝึกอบรมข้าราชการพลเรือน ให้เรียนรู้วิชาการด้านทหาร เพื่อเป็นกำลังสำรองในยามเกิดศึกสงคราม และเพื่อบำเพ็ญประโยชน์ต่อประชาชนในยามสงบ เช่น ช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทรงเห็นว่า ลูกเสือจะช่วยให้คนไทยรู้จักรักชาติ มีมนุษยธรรม มีความเสียสละ สามัคคี และมีความกตัญญู ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ "นายชัพพ์ บุนนาค" จากนั้นนานาชาติในยุโรปจึงจัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้นบ้าง ทำให้ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากล และมีความสัมพันธ์กันทั่วโลก โดยถือว่าลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งการลูกเสือไทย ลูกเสือกองแรกของไทยก่อตั้งขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเรียก เรียกว่า "ลูกเสือกรุงเทพฯ ที่ 1" โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานคติพจน์ เพื่อให้เด็กที่จะเข้าประจำการในกองลูกเสือได้ปฏิญาณตนว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์"